วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีน
จัดทำโดย นางสาวรมณีย์ ไมตรีแพน เลขที่ 10 ชั้นม.5/1

กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม長城จีนตัวย่อ长城พินอินChángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้และ เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หชิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม萬里長城จีนตัวย่อ万里长城พินอินWànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) กำแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตร และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้


บรรณานุกรม
วิกิพีเดีย.  "บทความ,"กำแพงเมืองจีน. 18 สิงหาคม 2554.<http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99 >  29 สิงหาคม 2554.


วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย

 โบราณสถาน....  โบสถ์ฮาเจีย  โซเฟีย...
                                                                                                           โดย  นางสาวภัธราภรณ์  เหลาไชย
                                                                                                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/1  เลขที่ 
9

                                                              โบสถ์ฮาเจีย  โซเฟียในปัจจุบัน
        ฮาเยียโซเฟีย หรือ ฮาเจียโซเฟีย (ภาษาตุรกี: Ayasofya, ภาษาละติน: Sancta Sapientia, ภาษากรีก: γία Σοφία) หรือชื่อในปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์อะยาโซเฟีย (Ayasofya Museum) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกส์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง[1] จุดเด่นอยู่ที่ยอดโดมขนาดมหึมากลางวิหาร และนับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ ฮาเจียโซเฟียเคยเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานเกือบพันปี จนกระทั่งโบสถ์เซบียาสร้างเสร็จในปี 1520
       สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างให้เป็นโบสถ์ในระหว่างปี ค.ศ. 532-537 โดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และเป็นโบสถ์หลังที่สามถูกสร้างขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ (โบสถ์สองหลังแรกถูกทำลายในระหว่างการจลาจล) โบสถ์นี้เป็นศูนย์กลางของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ เป็นเวลาเกือบ 1,000 ปี
     ในปี 1453 หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันพิชิตจักรวรรดิไบแซนไทน์ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงดัดแปลงโบสถ์ให้กลายเป็นสุเหร่า เช่นย้ายระฆัง แท่นบูชา รูปปั้นต่าง ๆ ออก และสร้างสัญลักษณ์ทางอิสลาม เช่นเสามินาเรต แทน สุเหร่าโซเฟียเป็นสุเหร่าหลักของอิสตันบูลมากว่า 500 ปี และเป็นต้นแบบของสุเหร่าออตโตมันอีกหลายแห่ง เช่นสุเหร่าสุลต่านอาเหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน), สุเหร่าเซห์ซาเด, สุเหร่าซือเลย์มานิเย และสุเหร่ารืสเตม ปาชา ในปี 1935 ฮาเจียโซเฟียก็ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์โดยสาธารณรัฐตุรกีจนถึงปัจจุบัน
อีกชื่อหนึ่งของ ฮาเจียโซเฟีย คือเซนต์โซเฟีย ซึ่งมาจากชื่อเต็มในภาษากรีก "Ναός τς γίας το Θεο Σοφίας" แปลว่า โบสถ์แห่งปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ โดยคำว่า "โซเฟีย" มาจากภาษาละติน ที่เปลี่ยนมาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่า "ปัญญา" อีกทีหนึ่ง จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับเซนต์ที่ชื่อโซเฟียแต่อย่างใด
                                                                                       โครงสร้างโบสถ์

บรรณานุกรม


GevorkNazaryan./"โบราณสถาน,"/ฮาเจีย  โซเฟีย.// 26 สิงหาคม 2554.// <http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%B5%E0%B8%A2>// 25  สิงหาคม  2554.

พีระมิดที่ชีเชนอิตซา (ประเทศเม็กซิโก)

พีระมิดที่ชีเชนอิตซา (ประเทศเม็กซิโก)
จัดทำโดย นางสาวอุบลวรรณา  วะริวงศ์ ชั้นม.5/1 เลขที่ 23
ชีเชนอิตซามีทำเลอยู่บนคาบสมุทรยุกาตังและเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของเผ่ามายา ซึ่งพีระมิดน่าจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ชาวมายาได้สร้างขึ้น ตั้งอยู่ห่างจากเมืองแคนคูนมาทางใต้โดยใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง โดยเชื่อกันว่าสาเหตุที่พวกเขาสร้างพีระมิดมาจากความสนใจในด้านดาราศาสตร์และปฏิทิน ดังจะเห็นได้จากการที่ทั้ง 4 ด้านของพีระมิดประกอบไปด้วยขั้นบันได 91 ขั้น และเมื่อรวมกับขั้นบนสุด ก็จะทำให้ตัวเลขรวมทั้งหมดเป็น 365 ซึ่งเท่ากับจำนวนวันในหนึ่งปี

ชีเชนอิตซา (อังกฤษ: Chichen Itza; สเปน: Chich?n Itz?) เป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยชาวมายาในเขตวัฒนธรรมเมโสอเมริกัน ตั้งอยู่ในคาบสมุทรยูกาตัง รัฐยูกาตัง ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก ชีเชนอิตซาเป็นส่วนหนึ่งของเมืองจำนวนมากมายซึ่งพวกมายาได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเทพเจ้าผู้ทรงกระหายพระโลหิต
ลักษณะโดยทั่วไปของชีเชนอิตซา ทำเป็นรูปเหลี่ยมลดขั้นเป็นชั้น ๆ บนเนื้อที่ราว 6.4 ตารางกิโลเมตร มีบันไดกลาง วิหารที่ใหญ่สุดมีชื่อว่า วิหารแห่งนักรบ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 หลังจากสร้างวิหารเก่าแห่งชักโมล ตรงกลางสร้างเป็นปราสาทเหลี่ยมทึบสูงขึ้นไป ใช้เป็นที่ทำพิธีสังเวยเทพเจ้าโดยใช้เด็กสาวโยนลงไปถวายเทพเจ้า ณ ที่นั้น รอบ ๆ ห่างออกมาทำเป็นบริเวณตลาดทำนองเดียวกับสถานสถิตยุติธรรมของพวกโรมัน ซึ่งอยู่กลางเมืองที่สาธารณะและเป็นที่รวมของฝูงชน
ชนเผ่ามายาแห่งเม็กซิโกสืบสายมาจากคนพวกแรกที่เดินทางจากทวีปเอเชียเข้ามายังทวีปอเมริกาทางช่องแคบเบริง ได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมทั้งในด้านเหี้ยมโหดอันป่าเถื่อนและความมีสติปัญญาอันสูงส่งในขณะเดียวกัน
พวกมายาฝึกความเสียสละด้านมนุษยชาติ ควักหัวใจผู้ที่รับการบูชาออกสังเวยพระเจ้า ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาความรู้ด้านดาราศาสตร์ ศิลปะของสถาปัตยกรรม ทางอักษรศาสตร์ ด้านการเขียนบันทึกด้วยตัวอักษรพิเศษ และการค้นพบค่าของเลข 0 ทางคณิตศาสตร์ แต่ก็น่าแปลกที่พวกเขามิได้ค้นพบประโยชน์อันเกิดจากล้อเลื่อน
ศูนย์กลางของอารยธรรมของคนพวกนี้อยู่ที่ชีเชนอิตซา ในคาบสมุทรยูกาตัง ผู้ค้นพบ ขุมอารยธรรมเหล่านี้แล้วนำออกมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้ทราบคือ นายทอมป์สัน ชาวอเมริกัน ผู้ใช้ชีวิตซอกซอนท่องเที่ยวไปในหมู่พวกมายาด้วยความสนใจจะศึกษาสิ่งลึกลับต่างบางทีอาจกล่าวได้ว่าพวกมายาจะเป็นต้นตำรับของพวกบูชาความสงบที่ต้องการศาสนารุนแรง นองเลือด หลังจากที่เคยพ่ายแพ้พวกชนเผ่าตอลเต็ก ซึ่งอยู่ตอนกลางของเม็กซิโก ในท้ายที่สุด พวกมายาก็ตกอยู่ใต้อำนาจของผู้ที่นิยมความรุนแรงที่เหนือกว่า ในเมื่อผู้ชนะที่กระหายเลือด โลภที่จะได้ทองและทรัพย์สมบัติของพวกมายาอย่างเต็มที่


บรรณานุกรม
บ้านมหา ดอมคอม"ที่สุดของที่สุด",พีระมิดที่ชีเชนอิตซา (ประเทศเม็กซิโก)  27 สิงหาคม 2554.
< http://www.baanmaha.com/community/thread23529.html>  27 สิงหาคม 2554.

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โบราณสถานฮาเจีย โซเฟีย

                                                                                                    โบราณสถาน....  โบสถ์ฮาเจีย  โซเฟีย...                                                                                                                    โดย  นางสาวภัธราภรณ์  เหลาไชย
                                                                                                                       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/1  เลขที่  9

                                                      โบสถ์ฮาเจีย  โซเฟียในปัจจุบัน
 
        ฮาเยียโซเฟีย หรือ ฮาเจียโซเฟีย (ภาษาตุรกี: Ayasofya, ภาษาละติน: Sancta Sapientia, ภาษากรีก: γία Σοφία) หรือชื่อในปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์อะยาโซเฟีย (Ayasofya Museum) เดิมเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกส์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและมักถูกจัดให้อยู่ในรายการสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง[1] จุดเด่นอยู่ที่ยอดโดมขนาดมหึมากลางวิหาร และนับเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ ฮาเจียโซเฟียเคยเป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานเกือบพันปี จนกระทั่งโบสถ์เซบียาสร้างเสร็จในปี 1520
       สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างให้เป็นโบสถ์ในระหว่างปี ค.ศ. 532-537 โดยจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ และเป็นโบสถ์หลังที่สามถูกสร้างขึ้นในสถานที่เดียวกันนี้ (โบสถ์สองหลังแรกถูกทำลายในระหว่างการจลาจล) โบสถ์นี้เป็นศูนย์กลางของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ เป็นเวลาเกือบ 1,000 ปี
     ในปี 1453 หลังจากที่จักรวรรดิออตโตมันพิชิตจักรวรรดิไบแซนไทน์ สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 จึงดัดแปลงโบสถ์ให้กลายเป็นสุเหร่า เช่นย้ายระฆัง แท่นบูชา รูปปั้นต่าง ๆ ออก และสร้างสัญลักษณ์ทางอิสลาม เช่นเสามินาเรต แทน สุเหร่าโซเฟียเป็นสุเหร่าหลักของอิสตันบูลมากว่า 500 ปี และเป็นต้นแบบของสุเหร่าออตโตมันอีกหลายแห่ง เช่นสุเหร่าสุลต่านอาเหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน), สุเหร่าเซห์ซาเด, สุเหร่าซือเลย์มานิเย และสุเหร่ารืสเตม ปาชา ในปี 1935 ฮาเจียโซเฟียก็ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์โดยสาธารณรัฐตุรกีจนถึงปัจจุบัน
       อีกชื่อหนึ่งของ ฮาเจียโซเฟีย คือเซนต์โซเฟีย ซึ่งมาจากชื่อเต็มในภาษากรีก "Ναός τς γίας το Θεο Σοφίας" แปลว่า โบสถ์แห่งปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ โดยคำว่า "โซเฟีย" มาจากภาษาละติน ที่เปลี่ยนมาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่า "ปัญญา" อีกทีหนึ่ง จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับเซนต์ที่ชื่อโซเฟียแต่อย่างใด

                                                                                โครงสร้างโบสถ์
บรรณานุกรม
GevorkNazaryan./"โบราณสถาน,"/ฮาเจีย  โซเฟีย.// 26 สิงหาคม 2554.// <http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%B5%E0%B8%A2>// 25  สิงหาคม  2554.

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทัชมาฮาล

โบราณสถาน...ทัชมาฮาล
โดย  นายทวีทรัพย์  จูมศิลป์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/1  เลขที่  1

                                                                ภาพทัชมาฮาลในปัจจุบัน
                     ทัชมาฮาล (ภาษาฮินดี : ताजमहल, ตาช มฮัล รากศัพท์เดิมมาจากภาษาอาหรับ ตาจญ์ (มงกุฎ) และ มะฮัล (สถาน) (ภาษาอาหรับ : تاج محل ) เป็นอนุสรณ์สถาน ตั้งอยู่ในเมืองอัครา ประเทศอินเดีย นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
                   ประวัติ
                 ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก[สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิโมกุลผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน พระราชสมภพในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) พระบิดา คือ จักรพรรดิ ชาห์ ชหานชีร์ จักรพรรดิองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โมกุล แห่งอินเดีย ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม ได้พบกับอรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตรสาวของรัฐมนตรี พิธีอภิเษกถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี ในปี พ.ศ. 2155 (ค.ศ. 1612) จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
                หลังจากที่พระเจ้าชาห์ ชหาน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์
แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้พระเจ้าชาห์ ชหานโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 (ค.ศ. 1666) ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระเจ้าชาห์ ชหานถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม มีบางคนกล่าวว่าพระเจ้าชาห์ ชหาน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับประมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
                ขนาด
               ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่ ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของพระนางมุมตัซ มาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมาฮาลมีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เป็นที่ตั้งของมัสยิด มีหออาซาน (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นายช่างที่ออกแบบ ชื่อ อุสตาด ไอซา ถูกประหารชีวิตเพื่อมิให้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใด ๆ ที่สวยกว่าได้ ส่วนหัวของทัชมาฮาลมีลักษณะโดมที่เรียกว่าโอเนียนโดม
              เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
            ทัชมาฮาลได้ถูกรับเลือกเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ
(i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด

                                                                      บรรณานุกรม
นิราศ  แสงแก้ว.  ทัชมาฮาล," ประวัติทัชมาฮาล.  15  มีนาคม  2550.  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A    26  สิงหาคม  2554.